วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

แปลสรุปบทความ

จากหนังสือเล่มที่ 1 

ฟอนต์สร้างจาก “จุดกำเนิด” 

รูปลักษณ์อักษรของตัวพิมพ์จะถูกสร้างขึ้นเป็นเส้นกรอบ (outline) ด้วยเครื่องมือ (tool) ที่ให้มาในโปรแกรมออกแบบตัวอักษรตัวพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ ทุกจุดที่ประกอบเข้าด้วยกันเป็นเส้นกรอบตัวอักษรจะถูกบันทึก “พิกัด” ของมันว่าอยู่ห่างจากจุดอ้างอิงเท่าไร จุดอ้างอิงที่ เรียกว่า จุดกำเนิด (origin) ถูกกำหนดให้อยู่บนจุดตัดระหว่างเส้นฐาน และเส้นกรอบหน้าของตัวพิมพ์ เพื่อกำหนดควบคุมตำแหน่งของตัวพิมพ์ให้สัมพันธ์กัน



ตัวพิมพ์เลียนแบบตัวเขียน

จากตัวอย่างคำว่าเบียดที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้สรุปได้ว่า ตัวพิมพ์คือตัวที่มีช่องไฟสำเร็จรูป ส่วนตัวเขียนคือตัวที่มีช่องไฟไม่คงที่ ตัวพิมพ์ที่เป็นตัวเนื้อหา ถือเป็นการออกแบบเพื่อเลียนแบบตัวเขียนบรรจงในอุดมคติ ถ้าเราจะเขียน “แกะ” สักกี่คำ ทั้งรูปอักษรและช่องไฟก็ไม่มีทางดูเหมือนกันราวโคลนนิ่งแต่ในการพิมพ์นั้นเป็นไปแล้ว ฉะนั้น ฟอนต์ที่ได้มาตรฐานในหัวข้อที่เรากำลังกล่าวถึงอยู่นี้จึงหมายถึงมาตรฐานของตัวอักษรและช่องไฟที่ผสมผสานกันนั้นเอง

ชนิดของตัวพิมพ์

ตัวพิมพ์หรือตัวเรียง แบ่งตามลักษณะของการใช้งานมีอยู่ ๒ จำพวก คือ จำพวกแรกเรียกว่า Display face หรือ Displayed ใช้สำหรับพาดหัวเรื่อง หัวข่าวหนังสือพิมพ์และโฆษณา ตัวพิมพ์จำพวกนี้จึงเป็นตัวพิมพ์ขนาดใหญ่เกินกว่า ๒๔ พอยท์ เรียกว่า ตัวโป้ง และออกแบบให้สวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจ ไม่ใช่เรียงเนื้อเรื่องเพราะอ่านยาก

ส่วนจำพวกที่ ๒ เรียกว่า Book face หรือ text ใช้สำหรับพิมพ์ตัวเรื่องของหนังสือเล่ม หรือ ตัวข่าวของหนังสือพิมพ์ ตัวพิมพ์จึงไม่ใช้ขนาดใหญ่ และเป็นแบบที่อ่านง่าย สบายตา ภาษาไทยใช้ตัวพิมพ์ขนาด ๑๒-๒o พอยท์


ตระกูลตัวพิมพ์

ตัวพิมพ์แบบหนึ่ง ๆ อาจแตกแขนงไปได้หลาย ๆ แบบ มากบ้างน้อยบ้าง แล้วแต่ลักษณะของตัวพิมพ์นั้น ๆ การแตกแขนงมีหลายวิธี ดังต่อไปนี้
แตกแขนงตามขนาดของตัวพิมพ์ หมายความว่า มีตัวพิมพ์ต้นแบบอยู่ขนาดเดียว เช่น ขนาดธรรมดา ๑๘-๒o พอยท์ ย่อให้เล็กเป็นตัวจิ๋ว ๑๒-๑๖ พอยท์ หรือขนายมากขึ้นเป็นตัวกลม ๒๔ พอยท์ และตัวโป้ง ๓๒-๗๒ พอยท์ เส้นตัวอักษรจะบางลงหรือหนาขึ้นตามสัดส่วนแต่รูปแบบจะเหมือนกับต้นแบบ
แตกแขนงตามลักษณะเส้นหนาเส้นบาง โดยคงขนาดตัวอักษรเท่าเดิม ตัวที่มีลักษณะ เส้นบางเรียกว่า ตัวบาง (Light face) บางมาก (Extra light) และบางมากพิเศษ (Extra-extra light) ส่วนตัวที่มีลักษณะเส้นหนาเรียกว่า ตัวหนา (Bold face) หนามาก (Extra-bold) และหนามากพิเศษ (Extra extra bold)
แตกแขนงโครงสร้างให้เป็นตัวเอน ตัวเอนจะมีลักษณะส่วนบนเอนไปทางขวาเล็กน้อย เรียกว่า โย้หลังสามารถสร้างได้ทุกขนาด เช่น จิ๋วเอน ฝรั่งเศสเอน ธรรมดาเอน เป็นต้น

ตัวพิมพ์แต่ละแบบและแต่ละขนาด เหมาะจะใช้ในที่และโอกาสต่างกัน จึงต้องพิจารณาเลือกให้เหมาะสม มิฉะนั้นสิ่งพิมพ์ที่จะออกมาก็จะขาดความประณีต ไม่ชวนอ่าน เช่น เนื้อเรื่องเรียงด้วยตัวธรรมดา(๑๙.๕ พอยท์) ถ้าเป็นหัวข้อใช้ตัวฝรั่งเศส และถ้าต้องการเน้นคำ ก็ใช้ตัวฝรั่งเศสเอน หรือฝรั่งเศสใหม่ทั้งนี้เป็นขนาดเดียวกันกับตัวธรรมดา และถ้ามีเชิงอรรถหรือคำบรรยายใต้ภาพก็ใช้ตัวจิ๋สบาง (๑๒ พอยท์) สำหรับหัวข้อเรื่อง หมวดหมู่ ภาค หรือบท ใช้ตัวกลาง (๒๔ พอยท์) เหล่านี้เป็นต้น



จากหนังสือเล่มที่ 2

คุณสมบัติของฟอนต์ไทยที่ดี

ถ้าเป็นฟอนต์ที่มีหัวกลมโปร่งอย่างอักษรไทยแท้ที่เป็นตัวเนื้อนั้น ข้อบ่งใช้ คือ เพื่อต้องการความชัดเจนถูกต้องแม่นยำในการสื่อความ ดังนั้นจึงอาจเรียงลำดับคุณสมบัติของฟอนต์ตามความสำคัญได้ดังต่อไปนี้
  • ได้มาตรฐาน ถูกอักขรวิธีไทย, ถูกหลักมาตรฐานมาตรฐานตัวพิมพ์สากล
  • อ่านง่าย ชัดเจนไม่สับสน
  • ใช้สะดวก มีสมาชิกครอบครัวเพียงพอ พร้อมชุดอักษรภาษาอังกฤษสำเร็จรูป
  • ประหยัด มีขนาดตัวพิมพ์กระชับ ประหยัดพื้นที่ทั้งแนวระดับและแนวนอน
  • สวยงาม มีความกลมกลืนระหว่างรูปลักษณ์อักษรทั้งชุด มีความสม่ำเสมอของน้ำหนัก (ความหนาบาง) ตัวอักษร, ความสูง, ช่องไฟ

สำนึกดี ฟอนต์ดี

ฟอนต์ตัวเนื้อของไทยกว่าจะเสร็จถึงขึ้นใช้งานได้ดีทั้งน่าดูและน่าอ่านนั้นต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ต้องคนคว้าทดสอบ กินเวลามาก ทำกันเผาๆ ไม่ได้ต้องละเอียดละออใช้ความอดทนสูงแต่ต้องยอมรับว่าฟอนต์เป็นของที่ก๊อปปี้ง่ายไม่ต้องใช้ความอดทน ไม่ต้องมีหิริโอตัปปะ ไป ๆ มา ๆ กลายเป็น ”ของฝาก” ในหมู่กราฟิคดีไซเนอร์ในหมู่คนใช้คอมพิวเตอร์ตามร้านเพลท, โรงพิมพ์, สตูดิโอ, โปรดักชั่นเฮ้าส์ ฯลฯ จนแม้แต่คนออกแบบฟอนต์เองก็อาจจะเคยได้รับฟอนต์ของตัวเองเป็นของแจก !


ถ้าคนทำงานออกแบบและผลิตสื่อที่มีสำนึกที่ดี ยอมรับว่าฟอนต์ไม่ใช่ของฟรี (แม้มีคนใจดีเอามาแจก) อยากใช้ประกอบอาชีพควรควักกระเป๋าอุดหนุน ผู้เขียนเชื่อว่ามือดีๆ จะโดดมาจับงานออกแบบฟอนต์เป็นอาชีพให้มีฟอนต์ที่ “ดูถึง” ใช้กันมากกว่านี้



จากหนังสือเล่มที่ 3



แบ่งฟอนต์ไทยได้เป็นกี่ประเภท

ถ้าจะแบ่งให้ละเอียดยิบแล้ว จะได้มากมายตามกลุ่มของรูปร่างหน้าตาฟอนต์ที่ปรากฏ แต่ถ้าจะแบ่งให้ง่ายๆ อาจเหลือเพียงสองประเภทใหญ่ๆ เท่านั้น คือ ประเภทแรกเป็นตัวอักษรที่มีหัวกลมโปร่งอย่างไทยแท้ นอกนั้นจัดเป็นประเภทสองทั้งหมด

ประเภทแรก นั้น คือตัวอักษรไทยที่เหมาะสำหรับใช้กับเนื้อความที่ต้องอ่านกันยาวๆ เลยต้องอ่านได้ง่าย ภาษานักออกแบบสิ่งพิมพ์จะเรียกกันว่า “ตัวเนื้อ” (เข้าใจว่ากร่อนมาจาก “ตัวเนื้อหา” หรือ “ตัวเนื้อความ” ตรงกับที่ฝรั่งเรียก body text)


ส่วนประเภทที่สอง คือฟอนต์ที่ไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับใช้เป็นตัวเนื้อความ (non-bodytext) โดยมากเป็นการนำตัวภาษาอังกฤษมาดัดแปลง มีตั้งแต่อ่านง่ายพอใช้เป็นเนื้อความสั้นๆได้ (display font) จนถึงขึ้นลวดลาย (Decorative font)


ฟอนต์อ่านง่ายขึ้นอยู่กับอะไร

ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับฟอนต์ที่อ่านง่ายไว้ ๓ ประเภท

ประเภทแรก ขึ้นอยู่กับช่อไฟของตัวอักษรว่ากว้างพอมั้ย ถ้าชิดเกินไปจะอ่านยากที่ขนาดตัวพิมพ์พอยต์เล็กๆ เช่น ๑o พอยต์ ในทางตรงกันข้ามถ้าช่องไฟโปร่งเกินไป แม้ขนาดพอยต์จะโต ๑๖ พอยต์ ก็จะกวาดสายตาอ่านจบแต่ละบรรทัดได้ช้าลงไปอีก


ประเภทที่สอง ขึ้นอยู่กับการเคารพบรรทัดฐานอักขรวิธีที่คนไทยเคยชินเพียงไร (ถ้าดูไม่คุ้นก็อ่านไม่คล่องนั้นเอง)


ประเภทที่สาม ขึ้นอยู่กับรูปลักษณ์ตัวอักษรแต่ละตัวว่าออกแบบให้มีความชัดเจนดูแตกต่างกันได้ดีเพียงไร



ในการออกแบบฟอนต์ให้อ่านง่ายนั้น ประการแรกต้องอาศัยประสบการณ์จากการเฝ้าสังเกตทดลอง ประการที่สองก็เพียงเคารพอักขรวิธีที่กล่าวมาแล้วในเรื่องบรรทัดฐาน ส่วนประการสุดท้ายเรื่องรูปลักษณ์ของตัวอักษรนั้นเป็นเรื่องใหญ่ผู้เขียนจึงได้ออกแบบ “ตารางอักษรสัมพันธ์” ไว้เริ่มตั้งแต่จัดงานออกแบบฟอนต์ภาษาไทยเพื่อจัดหมวดหมู่ตัวอักษรที่มีลักษณะร่วมหรือคล้ายครึงกัน

ตัวพิมพ์คือการเลียนแบบตัวเขียน

จากตัวอย่างคำว่าเบียดที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้สรุปได้ว่า

ตัวพิมพ์คือตัวอักษรพร้อมช่องไฟสำเร็จรูป ส่วนตัวเขียนคือตัวอักษรที่มีช่องไฟไม่คงที่


ตัวพิมพ์ที่เป็นตัวเนื้อหา ถือเป็นการออกแบบเพื่อเลียนตัวเขียนบรรจงในอุดมคติถ้าเราจะเขียน “ แกะ “ สักกี่คำ ทั้งรูปตัวอักษรและช่องไฟก็ไม่มีทางดูเหมือนกันราวโคลนนิ่งแต่ในทางการพิมพ์เป็นไปแล้ว

ระยะของการพิมพ์ เมื่อมาตรฐานฝรั่งถูกแปลงไทย

โดยทางวิชาการว่าด้วยเรื่องตัวพิมพ์ของฝรั่ง จะมีนิยามของเส้นและระยะต่างๆของตัวพิมพ์ เช่นเดียวกันเมื่อต้องการจะพูดถึงเรื่องแบบตัวพิมพ์ไทยก็จะควรจะมีนิยามของไทยเอง

ขนาดตัวพิมพ์ไม่ได้วัดที่ความสูงของพยัญชนะ

ตั้งแต่อดีตจากตัวเรียงตะกั่วจนถึงฟอนต์ หน่วยวัดขนาดตัวพิมพ์ก็ยังคงเป็นพอยต์ ( point) จึงนิยมเรียกว่า “ ขนาดพอยต์” (point size)

บางคนเข้าใจผิดคิดว่าขนาดของตัวพิมพ์นั้นวัดกันที่ความสูงของพยัญชนะมาตรฐานเช่น ก,บ (ที่ไม่มีส่วนสูงส่วนปกติแบบ ฎ,ป)


แท้จริงแล้วขนาดตัวพิมพ์เขาวัดกันที่ความสูงรวมของตัวอักษรทั้งชุด เช่นคำว่า สุกี้ เป็นฟอนต์รุ่นกินรี(ฟช๑) ที่มีขนาดตัวพิมพ์ ๑๖ พอยต์หมายความว่าจากบนสุดของวรรณยุกต์โทถึงปลายล่างสุดของสระอุ ต้องวัดระยะได้เท่ากับหรือไม่เกิน ๑๖ พอยต์

ระยะบรรทัดของขนาดตัวพิมพ์เกี่ยวข้องกันอย่างไร

ระยะบรรทัดหรือ leading ของตัวพิมพ์ ( ออกเสียง เล้ดดิ้ง ไม่ใช่ลีดดิ้ง เพราะรากศัพท์มากจากคำว่า เล้ด ที่แปลว่า “ ตะกั่ว” ไม่ใช่ลี้ดที่แปลว่า “นำ” ) โดยมาตรฐานขั้นต่ำแล้วจะมีค่าเท่ากับ ขนาดพอยต์ของตัวพิมพ์เสมอ

ถ้าใช้ระยะบรรทัดมาตรฐาน คือเท่ากับขนาดพอยต์ของตัวพิมพ์แล้วก็เป็นอันแน่ใจว่าหางตัวอักษรแถวบนจะไม่มาตีกับตัวอักษรแถวล่างเด็ดขาด


ในอดีตที่เรียงพิมพ์กันด้วยตัวตะกั่ว ถ้าต้องการเพื่มระยะบรรทัดเสริมเส้นตะกั่วเข้าไปให้ห่างขึ้น เพื่อให้ดูโปร่งและอ่านสบายตาขึ้น


แต่มาในปัจจุบันคอมพิมเตอร์ช่วยให้เราสามารถเลือกสั่งค่าระยะบรรทัดได้ตามใจชอบ ตั้งแต่ค่าบวกเพื่อให้เนื้อความดูโปร่ง หรือค่าติดลบกับงานพาดหัวที่ค้องการระยะบรรทัดชิด ๆ โดยทั่วไปแล้วถ้าไม่ระบุตั้งค่า leading ซอร์ฟแวร์จะตั้งค่า leading ให้บวกไว้เล็กน้อย



จากหนังสือเล่มที่ 4


subtletie

once the basics of typography have been adsorbed the ambitious designer will look for ways of displaying greater sophistication. The following examples demonstrate some of the minor alterations or addition that can be made to type to give that extra degree of subtlety.

เมื่อการใช้งานพื้นฐานของตัวพิมพ์ที่ได้รับการดูดซึมความทะเยอทะยานของนักออกแบบจะมองหาวิธีที่จะแสดงให้เห็นถึงความซับซ้อนที่มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นถึงบางส่วนของการเปลี่ยนแปลงหรือการเพิ่มเติมเล็กน้อยที่สามารถทำได้กับการพิมพ์เพื่อเพิ่มความฉลาดได้ในระดับหนึ่ง



จากหนังสือเล่มที่ 5 

about twenty years ago calligraphers realized that calligraphy had the potential to be so much more than a craft, and this knowledge opened up new horizons. this is not to say that all calligraphy is necessarily art. far from it, but the potential for an art forms exists within it. I believe that the calligraphers in this book have appreciated, explored and realized this potential in many different ways. the results are enormously exciting
ประมาณยี่สิบปีที่ผ่านมาช่างประดิษฐ์อักษรตระหนักว่าการประดิษฐ์ตัวอักษรต้องมีศักยภาพมากกว่างานฝีมือและความรู้นี้เสมือนเป็นการเริ่มต้นความรู้ใหม่ๆ ไม่ได้บอกว่าการประดิษฐ์ตัวอักษรทั้งหมดจำเป็นต้องเป็นศิลปะ แต่ที่มีศักยภาพสำหรับรูปแบบศิลปะที่มีอยู่ภายในตัวอักษร ผมเชื่อว่าการประดิษฐ์อักษรในหนังสือเล่มนี้ได้รับการชื่นชมและตระหนักถึงศักยภาพในรูปแบบที่แตกต่างกัน ผลเป็นที่น่าตื่นเต้นอย่างมาก


บรรณานุกรม

กำธร สถิรกุล. แบบตัวพิมพ์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวพ์เตอร์แห่งชาติ, ๒๕๓๕







ทองเดิม เสมรสุด. การพิมพ์ทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓o

วัลลภ สวัสดิวัลลภ. หนังสือและการพิมพ์. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : เอส.ออฟเซ็ทกราฟฟิคดีไซน์, ๒๕๓๒.


Bringhurst, Robert. (1997). The Element of Typography style. Indiana Harley & Mark, Publisher.
Cooper Chelie C. Typography. 2 nd ed. New York : Mc Graw - Hill, 1989.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น